1  บทนำ

ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการให้บริการทางการแพทย์ (routine clinical services) ในระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล (hospital information system หรือ HIS) หรือระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (electronic health records หรือ EHRs) มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการนำมาใช้สำหรับงานวิจัยทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน large-scale observational research และสนับสนุนการวิจัย pragmatic clinical trials ด้วยประโยชน์จากการเก็บข้อมูลปริมาณมาก จากกลุ่มประชากรหลากหลาย เป็นระยะเวลานาน จึงทำให้เห็นผลลัพธ์ในรูปแบบ real-world evidence อันนำไปสู่การพัฒนาระบบ learning health system เพื่อพัฒนาการรักษาพยาบาล

ทั้งนี้ ด้วยความแตกต่างหลากหลายของข้อมูลจากมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล แหล่งต่าง ๆ การนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อการวิจัย จึงมีปัญหาที่พบบ่อย ดังเช่น

  1. การรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ มีความซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล ให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์และการวิจัย
  2. การวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้น เช่น การเขียนโปรแกรม การใช้โปรแกรมทางสถิติ ไม่สามารถทำซ้ำ (reproducible) กับชุดข้อมูลใหม่หรือข้อมูลอื่นได้
  3. ปริมาณผู้ป่วย ปริมาณข้อมูลบางโรคอาจมีจำกัด (เช่น โรคหายาก หรือ โรคอุบัติใหม่) จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง แต่ข้อมูลมาจากหลายแหล่งทำให้ต้องปรับรูปแบบโครงสร้างข้อมูลให้เหมือนกันก่อนจึงจะสามารถทำการวิเคราะห์ได้ จึงต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น และอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นระหว่างการปรับแปลงข้อมูล
  4. การคุ้มครองข้อมูลสุขภาพทั้งด้าน security และ privacy จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ แต่การส่งข้อมูลในรูปแบบไฟล์ให้กัน เป็นการดำเนินการที่ไม่ปลอดภัย อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้

จากประเด็นข้างต้น จึงมีความพยายามในการสร้างมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการวิจัยจาก routinely collected data ในระบบโรงพยาบาลเดิม มาตรฐานหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก คือ Observational Medical Outcomes Partnership (OMOP) Common Data Model (CDM)

OMOP CDM เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) โดยได้รับเงินทุนจาก National Institutes of Health (NIH) สหรัฐอเมริกา ในระยะเริ่มต้นของโครงการพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อติดตามความปลอดภัยจากการใช้ยา (drug safety) ในสหรัฐอเมริกา โดยการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายโรงพยาบาลในประเทศ และต่อมารวมเครือข่ายกันในชื่อว่า Observational Health Data Sciences and Informatics (OHDSI)

1.1 OHDSI

Observational Health Data Sciences and Informatics (OHDSI) อ่านว่า โอดิสซี เป็นความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาต่อยอด OMOP CDM และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อพัฒนางานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง observational research ในระดับสากล เพื่อสร้าง evidence ที่เป็นประโยชน์ในการรักษาพยาบาล (Hripcsak et al. 2015) ภายในเครือข่ายประกอบด้วย นักวิจัย นักพัฒนา มากกว่า 3,000 คน จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น Columbia University, Northeastern University, UCLA, Johns Hopkins, Erasmus University, Oxford University, Ajou University, National University of Singapore เป็นต้น รวมถึงบริษัทยาและวิจัย เช่น Janssen, IQVIA เป็นต้น โดยไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการเข้าร่วมเครือข่าย

รูปที่ 1.1: แผนที่ผู้เข้าร่วมเครือข่าย OHDSI (ที่มา หนังสือ 2023 ‘Our Journey’ Annual Report)

1.1.1 Mission ภารกิจ

To improve health by empowering a community to collaboratively generate the evidence that promotes better health decisions and better care.

เพื่อพัฒนาสุขภาพโดยการสนับสนุนให้เครือข่ายร่วมมือกันสร้างหลักฐานที่ส่งเสริมการตัดสินใจเพื่อสุขภาพและการดูแลที่ดีขึ้น

1.1.2 Vision วิสัยทัศน์

A world in which observational research produces a comprehensive understanding of health and disease.

1.1.3 Values คุณค่า

Note

เครือข่าย OHDSI ให้ความสำคัญกับคุณค่า 6 ข้อต่อไปนี้ในทุก ๆ กิจกรรมที่ทำร่วมกัน ตั้งแต่การพัฒนามาตรฐานข้อมูล เครื่องมือ งานวิจัย ตลอดจนถึงการประชุม เอกสารเผยแพร่ต่าง ๆ

Innovation: Observational research is a field which will benefit greatly from disruptive thinking. We actively seek and encourage fresh methodological approaches in our work.

นวัตกรรม: การวิจัยจากการสังเกต (observational research) เป็นสาขาที่จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการคิดแบบใหม่ ๆ เราต้องการและสนับสนุนวิธีการวิจัยใหม่ในงานของเรา

Reproducibility: Accurate, reproducible, and well-calibrated evidence is necessary for health improvement.

การทำซ้ำได้: หลักฐานที่แม่นยำ ทำซ้ำได้ และตรวจสอบอย่างดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาทางด้านสุขภาพ

Community: Everyone is welcome to actively participate in OHDSI, whether you are a patient, a health professional, a researcher, or someone who simply believes in our cause.

ชุมชน: ทุกคนยินดีที่จะเข้าร่วมใน OHDSI อย่างกระตือรือร้น ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ป่วย ผู้ให้บริการทางการแพทย์ นักวิจัย หรือผู้ที่เชื่อในหลักการของเรา

Collaboration: We work collectively to prioritize and address the real-world needs of our community’s participants.

ความร่วมมือ: เราทำงานร่วมกันเพื่อจัดลำดับความสำคัญและตอนสนองความต้องการของผู้เข้าร่วมชุมชนของเรา

Openness: We strive to make all our community’s proceeds open and publicly accessible, including the methods, tools and the evidence that we generate.

ความเปิดเผย: เราพยายามทำให้ผลงานของชุมชนของเราเปิดเผยและสามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ รวมถึงวิธีการ เครื่องมือ และหลักฐานที่เราผลิต

Beneficence: We seek to protect the rights of individuals and organizations within our community at all times.

การสร้างประโยชน์: เราต้องการปกป้องสิทธิ์ของบุคคลและองค์กรในชุมชนของเราตลอดเวลา

1.2 OMOP CDM

Tip

ข้อมูลเมื่อ พฤศจิกายน 2023 มีมาตรฐาน OMOP CDM ถึง version 6.0 แต่ community experts ยังแนะนำให้ใช้ v5.4 ก่อน เนื่องจากเครื่องมือต่าง ๆ ยังไม่ support v6

รูปที่ 1.2: ตารางข้อมูลตามมาตรฐาน OMOP CDM (ที่มา https://ohdsi.github.io/CommonDataModel/)

Observational Medical Outcomes Partnership Common Data Model (OMOP CDM) version 5.4 จะเก็บในรูปแบบ relational database ประกอบด้วย 6 หมวดหมู่ ตาม รูปที่ 1.2 ดังนี้

  1. Clinical data ข้อมูลทางคลินิก มี 17 ตาราง (table) อาทิ
    • Person (ข้อมูลบุคคล)
    • Observation_period (ระยะเวลาที่เข้ารับบริการ)
    • Visit_occurrence (การเข้ารับบริการ)
    • Visit_detail (รายละเอียดการเข้ารับบริการ)
    • Condition_occurrence (ผลการวินิจฉัยและอาการของโรค)
    • Drug_exposure (ยาที่ได้รับ)
    • Procedure_occurrence (หัตถการ)
    • Device_exposure (อุปกรณ์ทางการแพทย์)
    • Measurement (ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและกายภาพ)
    • Observation (ผลการตรวจอื่น ๆ)
    • Death (การเสียชีวิต)
    • Note (บันทึก)
    • Specimen (สิ่งส่งตรวจ)
  2. Vocabularies คลังชุดคำศัพท์ ประกอบด้วย
    • Standard concepts คำศัพท์มาตรฐาน เช่น SNOMED-CT LOINC RxNORM ICD9Proc เป็นต้น สำหรับการใช้ข้อมูลร่วมกันระดับนานาชาติ
    • Non-standard concepts เช่น ICD10 เป็นต้น รวมถึงรหัสในประเทศไทย เช่น TMT, TMLT เป็นต้น
    • Classification concepts ได้แก่ MedDRA (สำหรับกลุ่มโรค) และ ATC (สำหรับกลุ่มยา)
  3. Health system ข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาล
  4. Health economics ข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริการ
  5. Derived elements ข้อมูลที่สรุปรวมเพิ่มเติม เช่น ระยะเวลาที่เป็นโรค ระยะเวลาที่ได้รับยา การแบ่งกลุ่มผู้ป่วย (cohort)
  6. Metadata ข้อมูลประกอบ CDM เพิ่มเติม เช่น ที่มาของข้อมูล ระยะเวลา version ของข้อมูล เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติม ของแต่ละ table รวมถึง Data Dictionary สามารถเข้าถึงได้ที่ https://ohdsi.github.io/CommonDataModel/cdm54.html และ ER Diagram

จากการสำรวจเมื่อกันยายน 2023 ทั่วโลก มีฐานข้อมูล OMOP CDM มากกว่า 500 ชุด เกือบ 1 พันล้านผู้ป่วย จาก 49 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แปลงข้อมูลเป็น OMOP CDM แล้ว

รูปที่ 1.3: แผนที่ประเทศที่มีฐานข้อมูล OMOP CDM (ที่มา หนังสือ 2023 ‘Our Journey’ Annual Report)

1.3 Real-world Data to Real-world Evidence

รูปที่ 1.4: จาก Real-world Data สู่ Real-world Evidence (ที่มา The Book of OHDSI)

ข้อมูล real-world data ของผู้ป่วย มีหลากหลายประเภท โดยอาจแบ่งได้ตาม

  • กลุ่มประชากร เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ หรือ กลุ่มทางสังคม (socioeconomic)
  • การให้บริการ เช่น ผู้ป่วยนอก/ใน หรือ สถานพยาบาล
  • ระบบการเก็บ/ได้มาซึ่งข้อมูล เช่น ระบบโรงพยาบาล (EHR) การเบิกจ่าย (Claims) หรือ research registry
  • ระบบสุขภาพ เช่น สถานพยาบาลของรัฐ/เอกชน หรือ ประกันสุขภาพของรัฐ/เอกชน

การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้งานจึงต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติของข้อมูลและข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น ข้อมูลโรงพยาบาลหรือการเบิกจ่ายไม่ได้เก็บมาเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ จึงต้องระมัดระวังคุณภาพข้อมูลเป็นพิเศษ เป็นต้น เมื่อทำการตรวจสอบต่าง ๆ ประกอบกับออกแบบการวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับข้อมูล จึงได้มาซึ่งผลการวิจัย evidence โดยใน OHDSI แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ

  1. Clinical characterization
    • Clinical trial feasibility
    • Treatment utilization
    • Disease natural history
    • Quality improvment
  2. Population-level estimation
    • Safety survillance
    • Comparative effectiveness
  3. Patient-level prediction
    • Precision medicine
    • Disease interception

โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมใน The Book of OHDSI บทที่ 1.1 และ บทที่ 7